วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรื่องที่ 8 อุปกรณ์เก็บข้อมลุ

อุปกรณ์เก็บข้อมูล
 
     มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลหลายชนิดสำหรับ PC ซึ่งประกอบด้วยฮาร์ดดิสก์, ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์ และออปติคัลไดรฟ์ ที่ติดตั้งอยู่ในตัวเครื่องหลัก หรือแฟลชดิสก์, การ์ดหน่วยความจำ และออปติคัลไดรฟ์แม่เหล็ก (MO) ฯลฯ ในขณะที่ระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชั่นต่างๆ เริ่มมีความสามารถหลายด้านมากขึ้น ระบบก็ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้นสำหรับซอฟต์แวร์ต่างๆ ทำให้ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลสำหรับ PC ทุกเครื่อง
นอกจากนี้ โมดูลหน่วยความจำยังอาจได้รับการพิจารณาว่าเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ยกเว้นแต่ว่าสามารถเก็บข้อมูลได้ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น เมื่อ PC ปิด หรือเมื่อสิ้นสุดแอปพลิเคชั่น ข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำจะถูกลบออก เพื่อให้มีพื้นที่มากขึ้นสำหรับการรันโปรแกรมอื่นต่อไปในอนาคต ฮาร์ดดิสก์ นั้นถือว่าเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลระยะยาว ผู้ใช้มักจะเก็บเวิร์กชีต, ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส และไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาลงบนฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นค่อยคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป ไม่ว่าจะเก็บไว้ หรือแบ่งปันกับผู้อื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือแฟลชดิสก์

     ออปติคัลไดรฟ์ หรือเครื่องเบิร์น ใช้ในการอ่านไดรเวอร์ หรือซอฟต์แวร์เครื่องมือที่เก็บอยู่ในแผ่น CD เมื่อพิจารณาถึงความสะดวกในการโหลดแล้ว ความสำคัญของออปติคัลไดรฟ์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ด้วยการใช้เครื่องเบิร์น คุณสามารถเบิร์นข้อมูลลงในดิสก์ นอกจากเบิร์น CD แล้ว ยังสามารถเบิร์นดิสก์ที่มีความจุขนาดใหญ่ได้ (4.7GB สำหรับแผ่น DVD ด้านเดียว ชั้นเดียว) แผ่นเหล่านี้สามารถเก็บรักษาข้อมูลได้ยาวนาน ผู้ใช้อาจสามารถสร้างดิสก์ที่บรรจุภาพยนตร์ หรือดนตรีสำหรับเล่นโดยใช้เครื่องเล่น DVD ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตการใช้งานของเครื่อง PC
 
 
 
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์

ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์เคยใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลในยุคสมัยของ DOS ด้วยความจุ 1.44MB ซึ่งอาจมองดูแล้วไม่เพียงพอ และแผ่นดิสก์ฟล็อปปี้ยังเก็บรักษายาก นอกจากนี้ ฟังก์ชั่นการบูตในปัจจุบันนั้นถูกแทนที่ด้วยแฟลชดิสก์ หรือแผ่น CD ได้แล้ว กระนั้นก็ตาม แม้พิจารณาถึงความจริงเหล่านี้แล้ว ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงมีความจำเป็นอยู่ ตัวอย่างเช่น คุณจำเป็นต้องใช้แผ่นฟล็อปปี้เมื่อทำการติดตั้งไดรเวอร์ซีเรียล ATA ก่อนที่จะทำการติดตั้ง Windows XP คุณควรติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์ไว้ใน PC สำหรับใช้งานที่ยามที่จำเป็น
 
 
คอมโบไดรฟ์
พูดโดยทั่วไปแล้ว ความจุของแผ่น CD-R ซึ่งมีความจุ 80 นาที/700MB ค่อนข้างที่จะเพียงพอสำหรับ การสำรองข้อมูลในสถานการณ์ส่วนมาก จนถึงปัจจุบัน ความเร็วของเครื่องเบิร์นนั้นได้มาถึงจุดสูงสุด และราคาก็เป็นที่ยอมรับได้ในหมู่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้เครื่องเบิร์นกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการสร้าง PC ไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากที่มีข้อกำหนดของ DVD ออกมา ไดรฟ์ CD-R/RW ก็ได้เสริมฟังก์ชั่นการอ่านของไดรฟ์ DVD-ROM เข้าไปด้วยเพื่อสร้างเป็นคอมโบไดรฟ์ ความแตกต่างด้านราคาระหว่างคอมโบไดรฟ์ และไดรฟ์ CD-R/RW นั้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ไม่กี่ร้อยบาท) ดังนั้นการอัปเกรดไปเป็นคอมโบไดรฟ์ จึงนับเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
 
 
เครืองเบิร์น DVD
แม้ ว่าจะมีการแข่งขันระหว่างมาตรฐาน DVD-R/RW และ DVD+R/RW ข้อได้เปรียบของความจุขนาด 4.7 GB (ด้านเดียว ชั้นเดียว) ของแผ่น DVD ก็ทำให้เครื่อง เบิร์น DVD เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ ด้วยการเปิดตัวเครื่องเบิร์นที่สนับสนุนทั้งมาตรฐาน DVD-R/RW และ DVD+R/RW และแผ่นดิสก์สองชั้นแบบใหม่ที่เป็นที่หมายตาของผู้ใช้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เครื่องเบิร์น DVD จึงมีโอกาสเข้ามาแทนที่เครื่องเบิร์น CD-R/RW ในอนาคต
 
 
ฮาร์ดดิสก์
     ในบรรดาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสมรรถนะของฮาร์ดดิสก์ ความเร็วการหมุนนั้นถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ความเร็วการหมุนปัจจุบันสำหรับทั้งฮาร์ดดิสก์ซีเรียล ATA และ IDE ขนาด 3.5 นิ้วก็คือ 7200RPM; ในขณะนี้ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็ว 5400 RPM นั้นไม่ค่อยพบแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งก็คือบัฟเฟอร์หน่วยความจำ ในขณะที่บัฟเฟอร์หน่วยความจำสูงขึ้น ความเร็วสำหรับโปรเซสเซอร์ในการเข้าถึงข้อมูลซ้ำๆ บนฮาร์ดดิสก์ก็เร็วขึ้นด้วย และสมรรถนะการเข้าถึงก็เพิ่มขึ้นด้วย บัฟเฟอร์หน่วยความจำของฮาร์ดดิสก์ส่วนมากจะเป็น 8 MB และความแตกต่างด้านราคาจากชนิด 2MB นั้นเล็กน้อยมาก ซึ่งคุณควรซื้อชนิด 8 MB มาใช้จะดีกว่า
 
 
 
ซีเรียล ATA V.S IDE
     นวัตกรรมของชิปเซ็ต Intel 915 และ 925 ไม่เพียงแต่เป็นการเข้าสู่ยุคใหม่ของ DDR2 และ PCI Express เท่านั้น แต่ยังเป็นการใช้ซีเรียล ATA เพื่อทดแทน IDE อีกด้วย ชิปเซ็ต 945 และ 955 สนับสนุนซีเรียล ATA 3.0 Gb/s ซึ่งมีการขยายความยาวสายเคเบิลจาก 1 เมตรไปเป็น 2 เมตร และเพิ่มอัตราการถ่ายโอนเป็น 3Gbps (1.5 Gbps สำหรับซีเรียล ATA) พร้อมกับผนวกรวมคุณสมบัติฮ็อตพลัก, ฮ็อตสว็อป และ Native Command Queue (NCQ) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความเข้ากันได้ที่อาจเกิดขึ้น
 
นอกเหนือจากฮาร์ดดิสก์แล้ว ออปติคัลไดรฟ์และเครื่องเบิร์นก็ใช้อินเตอร์เฟซ IDE เช่นกัน อินเตอร์เฟซ IDE มีการพัฒนาจาก ATA33, ATA66 และ ATA100 ไปเป็น ATA133 โดยที่มีแบนด์วิธใหญ่ขึ้น ขั้วต่ออินเตอร์เฟซนั้นมีความเข้ากันได้กับรุ่นก่อนหน้า สายเคเบิล IDE สามารถเป็นได้ทั้งแบบธรรมดา และแบบความหนาแน่นสูง ด้านซ้ายของรูปคือสาย ATA33 ธรรมดาสำหรับต่อกับออปติคัลไดรฟ์ ที่ด้านขวาเป็นสายความหนาแน่นสูง ATA66 ที่มีช่วงระหว่างสายเล็กกว่า การใช้สาย ATA33 เพื่อเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ ATA100 หรือ ATA133 จะทำให้ได้สมรรถนะที่ย่ำแย่จากฮาร์ดดิสก์
 
นอกจากการเพิ่มขึ้นของอัตราการถ่ายโอน ความยาวของสายเคิลซีเรียล ATA นั้นก็ยาวกว่าสายเคเบิล IDE ถึง 46 ซม. และขนาดของสายก็ลดลงอย่างมาก การออกแบบดังกล่าวก็เพื่อให้มีความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อ และสามารถป้องกันไม่ให้สายเคเบิลขวางกั้นการระบายอากาศเพื่อเพิ่มความเย็นภายในตัวเครื่อง ไม่เหมือนกับ IDE สายซีเรียล ATA นั้นใช้การออกแบบแบบจุดต่อจุด และไม่จำเป็นต้องใช้จัมเปอร์เพื่อตั้งค่า Master หรือ Slave
 
รูปด้านบนคือขั้วต่อซีเรียล ATA; รูปด้านล่างของอินเตอร์เฟซ IDE ขั้วต่อเพาเวอร์ของฮาร์ดดิสก์ซีเรียล ATA นั้นแตกต่างออกไป ถ้าแหล่งจ่ายไฟไม่สนับสนุนขั้วต่อเพาเวอร์แบบซีเรียล ATA คุณจำเป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น